3.Coupon rate
coupon rate เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nominal rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตกลงจะจ่ายให้ผู้ถือตราสารหนี้ในแต่ละปี จำนวนเงินของดอกเบี้ยที่จ่ายให้ผู้ถือตราสารหนี้ เรียกว่า coupon
coupon หาได้โดยใช้ coupon rate คูณด้วย Par value ของบอนด์ นั่นคือ
Coupon = coupon rate x Par value
ตัวอย่างเช่น
บอนด์ที่มี coupon rate = 8% และมีมูลค่าพาร์เท่ากับ 1000 บาท จะจ่ายดอกเบี้ยต่อปีเท่ากับ 80 บาท (=1000x0.08)
เมื่ออธิบายตราสารหนี้ของผู้ออกตราสาร coupon rate จะแสดงพร้อมกับ maturity date เช่น 6s of 12/1/2020 หมายความว่า บอนด์มี coupon rate เท่ากับ 6% และมีวันครบกำหนด ณ วันที่ 12/1/2020 ตัว s หลัง 6 แสดงถึง coupon series
โดยปกติในอเมริกา ผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายคูปองปีละสองครั้ง ส่วน mortgage-backed securities และ asset-backed securities โดยทั่วไปจะจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน สำหรับผู้ออกตราสารหนี้บางตลาดนอกเหนือจากอเมริกาจะต่ายคูปองปีละครั้ง
coupon rate ยังมีผลกระทบต่อราคาตราสารหนี้กับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ถ้าสมมติว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอื่นๆ คงที่ ยิ่ง coupon rate มาก ราคาจะลดลงเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
3.1 Zero-Coupon bonds
บอนด์ที่ไม่มีการจ่ายคูปองเรียกว่า Zero coupon bonds ผู้ถือ zero coupon bond จะได้กำไรอัตราดอกเบี้ยโดยการซื้อบอนด์ที่ราคาต่ำกว่าราคาพาร์ ดอกเบี้ยจะจ่ายเมื่อวันครบกำหนด ตัวอย่างเช่น ถ้านักลงทุนซื้อ zero coupon bonds ที่ราคา 70 ดอกเบี้ยคือ 30 นั่นคือส่วนต่างระหว่างราคาพาร์(100) และราคาที่จ่าย (70)
3.2 Step-Up Notes
คือ ตราสารที่มี coupon rate เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลา เราเรียกว่า Step-Up Notes เพราะว่า coupon rate เพื่มขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น 5-year step-up notes จะมี coupon rate 5% สำหรับสองปีแรก และ 6% สำหรับปีที่3-5 เราเรียกว่า single step-up notes ตัวอย่างที่สอง step-up notes ที่มี coupon rate 5% สำหรับสองปีแรก 5.5% สำหรับปีที่สามและปีที่4 6%สำหรับปีที่5 เราเรียกว่า multiple step-up notes
ตัวอย่างของจริงของ multiple step-up notes 5ปี ที่ออกโดย Student Loan Marketing Association(Sallie Mae) ออกในเดือน May 1994 มีคูปองดังต่อไปนี้
6.05% จากวันที่ 5/3/94 ถึง 5/2/95
6.60% จากวันที่ 5/3/95 ถึง 5/2/96
7.00% จากวันที่ 5/3/96 ถึง 5/2/97
7.75% จากวันที่ 5/3/97 ถึง 5/3/98
8.50% จากวันที่ 5/3/98 ถึง 5/2/99
3.3 Deferred Coupon Bonds
คือ บอนด์ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยยืดออกไปตามจำนวนปีที่ระบุ คือไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยในช่วงเวลา deferred period เมื่อสิ้นสุดช่วง deferred period ผู้ออกจะจ่ายดอกเบี้ยจนกระทั่งครบกำหนด โดยผู้ออกจะจ่ายดอกเบี้ยให้สูงกว่าหลังจาก deferred period เพื่อชดเชยการจ่ายดอกเบี้ยล่าช้าให้ผู้ถือบอนด์
3.4 Floating-Rate Securities
coupon rate ของบอนด์จะไม่ถูกกำหนดตายตัวตลอดอายุของบอนด์ Floating-Rate Securities บางครั้งเราเรียกว่า Variable-rate securities โดยที่ Coupon rate จะถูกรีเซ็ทใหม่ตามช่วงเวลา สูตรในการคำนวนหา coupon rate ที่ reset คือ
Coupon rate = Reference rate + Quoted Margin
Quoted Margin คือ จำนวนส่วนเพิ่มที่ผู้ออกตราสารตกลงที่จะจ่ายให้นอกเหนือจาก Reference rate ตัวอย่างเช่น สมมติว่า Reference rate คือ London interbank offered rate 1-Month(LIBOR) สมมติให้ Quoted margin คือ 100 basis points แล้ว Coupon rate คือ
Coupon rate = 1-month LIBOR + 100 Basis point
ดังนั้น ถ้า 1-month LIBOR ตอน coupon reset date คือ 5% แล้ว coupon rate ที่ถูกตั้งค่าใหม่สำหรับงวดนี้คือ 6% (5% + 100 basis point)
Quoted margin ไม่จำเป็นต้องมีค่าเป็นบวก Quoted margin อาจจะถูกลบออกจาก Reference rate ก็ได้ ตัวอย่างเช่น Reference rate เท่ากับ 5-yield Treasury Security และ coupon rate ถูก reset ทุก 6 เดือน เพราะฉนั้น สูตร Coupon rate จะเป็น
Coupon rate = 5-yield Treasury yield - 90 Basis points
ดังนั้น ถ้า 5-yield Treasury yield เท่ากับ 7% ณวันที่ Reset coupon แล้ว Coupon rate จะเท่ากับ 6.1% (7%-90 basis points)
มันเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจกระบวนการในการจ่ายเงินและกำหนด coupon rate สมมติว่า floater จ่ายดอกเบี้ยปีละสองครั้ง และอนาคตสมมติว่า coupon rate reset ณ วันนี้ แล้ว coupon rate คือ การระบุ coupon formula และอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอีก 6 เดือนข้างหน้านับจากนี้
floater อาจมีการจำกัด coupon rate สูงสุด ที่จะจ่าย ณ วันที่ Reset ใหม่ Coupon rate สูงสุดเราเรียกว่า CAP ตัวอย่างเช่น สมมติว่า coupon formula คือ 3-month Treasury bill rate + 50 Basis point กำหนด Cap เท่ากับ 9% ถ้า 3-month Treasury bill เท่ากับ 9 % ณ coupon reset date แล้ว coupon rate = 9.5% อย่างไรก็ตามมีการกำหนดข้อจำกัด Cap ไว้ที่ 9 % ดังนั้น coupon rate คือ 9%
coupon rate ขั้นต่ำ เราเรียก ว่า floor
อัตราอ้างอิงสำหรับ floater คือ อัตราดอกเบี้ย หรือดัชนีที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย เช่น อัตราเงินเฟ้อ(Inflation index)
โดยทั่วไป coupon formula floater จะเพิ่มขึ้น เมื่อ reference rate เพิ่มขึ้น และลดลงเมื่อ reference rate ลดลง
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Features of Debt Securities
ห่างหายกันไปนาน ไม่ค่อยมีเวลา Update วันนี้เลยเอาซะหน่อย ว่ากันด้วยเรื่องของ Fixed income securities
หลักทรัพย์ตราสารหนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาระหนี้และหุ้นบุริมสิทธิ ในกรณีของภาระหนี้ผู้ออกตราสารจะเรียกว่า ผู้กู้(Borrower) นักลงทุนที่ซื้อตราสารจะเรียกว่าผู้ให้กู้(Lender or Creditor) โดยผู้กู้จะทำข้อตกลงการจ่ายเงินเป็นสองส่วน คือ 1.ดอกเบี้ย 2.เงินต้น
fixed income securities ที่เป็นแบบภาระหนี้ประกอบด้วย Bond ,mortgae-backed securities , asset-backed securities และ bank loans
ตราสารที่เป็นแบบหุ้นบุริมสิทธิ ผู้ออกตราสารจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งแตกต่างจกนักลงทุนที่เป็นเจ้าของหุ้นสามัญ คนที่เป็นเจ้าของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลคงที่และจ่ายก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้สิทธิในการเรียกร้องก่อน
ในปี 1980 Fixed income ของโลกได้เปลี่ยไป อย่างแรก Fixed income securities มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะในหลายตราสารยากที่จะตรวจสอบ บางตราสารยากในการหาดอกเบี้ยที่จะได้รับ อย่างที่สองคือ นักลงทุนสถาบันเข้ามาค้าตราสารหนี้มากขึ้น
ต่อไปเราจะอธิบายคุณลักษณะของ fixed income securities โดยจะอธิบายว่าคุณลักษณะเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้อย่างไร โดยจะใช้ตราสารหนี้ที่ออกในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
1.เงื่อนไขและสัญญา(Indentur & Convenants)
สัญญาของผู้ออกตราสารและสิทธิของผู้ถือตราสารจะมีการกำหนดรายละเอียดในสัญญษ ผู้ถือตราสารหนี้มีความยากลำบากในการใช้เวลาในการตรวจสอบว่าผู้ออกตราสารจะรักษาคำมั่นสัญญาทั้งหมดที่ทำในสัญญา ปัญหานี้จะแก้ไขโดย ผู้ดูแลทรัพย์สิน (trustee) ในฐานะบุคคลที่สาม ในสัญญาจะระบุผู้ดูแลทรัพย์สินในฐานะตัวแทนของผู้ถือตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่มีสัญญารับรองและเงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติ เงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติและระบุข้อจำกัดบางอย่างและข้อจำกัดกิจกรรมผู้กู้ส่วนใหญ่ คือ ข้อจำกัดในความสามารถของผู้กู้ที่จะไม่สามารถเพิ่มหนี้จนกว่าจะมีการทดสอบบางอย่างที่เป็นที่น่าพอใจ สัญญาที่รับรองกิจกรรมที่ผู้กู้จะทำ ที่พบมากที่สุดคือ 1)การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นในเวลาที่กำหนด 2.)การจ่ายภาษีและสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เมื่อครอบกำหนด 3)การรักษาสินทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของผู้กู้ให้อยู่ในสภาพดี 4)การนำส่งรายงานเป็นระยะให้ผู้ดูแลทรัพย์สินที่ระบุไว้ตามสัญญาการกู้
2.วันครบกำหนด (Maturity)
ระยะเวลาที่ครบกำหนดของตราสารหนี้ คือ จำนวนปีของหนี้สินที่มีอยู่ หรือจำนวนปีที่เหลือที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น เช่น "due 12/1/2020"
สำหรับตราสารหนี้ที่มีอายุ 1-5 ปี คือระยะสั้น
อายุ 5-12 ปี คือระยะกลาง
อายุ 12 ปีขึ้นไป คือระยะยาว
สำหรับเหตุผลที่ระยะเวลาที่ครบกำหนดมีความสำคัญมี 3 ข้อ คือ
1.ระยะเวลาที่ผู้ถือตราสารหนี้คาดว่าจะได้รับดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงกำหนดรับคืนเงินต้น
2.ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าของตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของตราสารหนี้ตลอดอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
มูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ของตราสารหนี้คือจำนวนเงินที่ผู้ออกบอนด์ตกลงที่จะจ่ายเงินคืนให้ผู้ถือตราสาร ณ วันที่ครบกำหนด อาจเรียกว่า principal value หรือ face value หรือ redemption value หรือ maturity value
ในทางปฏิบัติราคาของบอนด์จะแสดงเป็นจำนวนเปอร์เซ็นของราคาพาร์ เช่น มูลค่า 100 หมายถึง 100% ของราคาพาร์ ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 1000 บาทและผู้ออกบอนด์ขายที่ราคา 900 บาท เราอาจกล่าวว่าขายที่ 90 ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 5000 บาทและขายที่ 5500 เราอาจกล่าวว่าขายที่ 110
ในการคำนวณราคาของบอนด์เป็นดอลล่าร์ในอเมริกา สิ่งแรกบอนด์จะต้องแปลเป็นราคาต่อ 1 $ ดังนั้นราคาต่อ 1$ จะคูณด้วยราคาพาร์ เป็น ราคาดอลลาร์ ตัวอย่างดังต่อไปนี้
หมายเหตุ บอนด์อาจซื้อขายที่ราคาต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้ เมื่อบอนด์ซื้อขายต่ำกว่าราคาพาร์เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Discount และ เมื่อบอนด์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าราคา เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Premium
เรื่องต่อไปจะกล่าวถึง Coupon rate เนื่องจาก coupon rate ของบอนด์มีหลายประเภทจึงขอยกไว้ครั้งถัดไป
หลักทรัพย์ตราสารหนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาระหนี้และหุ้นบุริมสิทธิ ในกรณีของภาระหนี้ผู้ออกตราสารจะเรียกว่า ผู้กู้(Borrower) นักลงทุนที่ซื้อตราสารจะเรียกว่าผู้ให้กู้(Lender or Creditor) โดยผู้กู้จะทำข้อตกลงการจ่ายเงินเป็นสองส่วน คือ 1.ดอกเบี้ย 2.เงินต้น
fixed income securities ที่เป็นแบบภาระหนี้ประกอบด้วย Bond ,mortgae-backed securities , asset-backed securities และ bank loans
ตราสารที่เป็นแบบหุ้นบุริมสิทธิ ผู้ออกตราสารจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งแตกต่างจกนักลงทุนที่เป็นเจ้าของหุ้นสามัญ คนที่เป็นเจ้าของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลคงที่และจ่ายก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้สิทธิในการเรียกร้องก่อน
ในปี 1980 Fixed income ของโลกได้เปลี่ยไป อย่างแรก Fixed income securities มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะในหลายตราสารยากที่จะตรวจสอบ บางตราสารยากในการหาดอกเบี้ยที่จะได้รับ อย่างที่สองคือ นักลงทุนสถาบันเข้ามาค้าตราสารหนี้มากขึ้น
ต่อไปเราจะอธิบายคุณลักษณะของ fixed income securities โดยจะอธิบายว่าคุณลักษณะเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้อย่างไร โดยจะใช้ตราสารหนี้ที่ออกในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
1.เงื่อนไขและสัญญา(Indentur & Convenants)
สัญญาของผู้ออกตราสารและสิทธิของผู้ถือตราสารจะมีการกำหนดรายละเอียดในสัญญษ ผู้ถือตราสารหนี้มีความยากลำบากในการใช้เวลาในการตรวจสอบว่าผู้ออกตราสารจะรักษาคำมั่นสัญญาทั้งหมดที่ทำในสัญญา ปัญหานี้จะแก้ไขโดย ผู้ดูแลทรัพย์สิน (trustee) ในฐานะบุคคลที่สาม ในสัญญาจะระบุผู้ดูแลทรัพย์สินในฐานะตัวแทนของผู้ถือตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่มีสัญญารับรองและเงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติ เงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติและระบุข้อจำกัดบางอย่างและข้อจำกัดกิจกรรมผู้กู้ส่วนใหญ่ คือ ข้อจำกัดในความสามารถของผู้กู้ที่จะไม่สามารถเพิ่มหนี้จนกว่าจะมีการทดสอบบางอย่างที่เป็นที่น่าพอใจ สัญญาที่รับรองกิจกรรมที่ผู้กู้จะทำ ที่พบมากที่สุดคือ 1)การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นในเวลาที่กำหนด 2.)การจ่ายภาษีและสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เมื่อครอบกำหนด 3)การรักษาสินทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของผู้กู้ให้อยู่ในสภาพดี 4)การนำส่งรายงานเป็นระยะให้ผู้ดูแลทรัพย์สินที่ระบุไว้ตามสัญญาการกู้
2.วันครบกำหนด (Maturity)
ระยะเวลาที่ครบกำหนดของตราสารหนี้ คือ จำนวนปีของหนี้สินที่มีอยู่ หรือจำนวนปีที่เหลือที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น เช่น "due 12/1/2020"
สำหรับตราสารหนี้ที่มีอายุ 1-5 ปี คือระยะสั้น
อายุ 5-12 ปี คือระยะกลาง
อายุ 12 ปีขึ้นไป คือระยะยาว
สำหรับเหตุผลที่ระยะเวลาที่ครบกำหนดมีความสำคัญมี 3 ข้อ คือ
1.ระยะเวลาที่ผู้ถือตราสารหนี้คาดว่าจะได้รับดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงกำหนดรับคืนเงินต้น
2.ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าของตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของตราสารหนี้ตลอดอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
มูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ของตราสารหนี้คือจำนวนเงินที่ผู้ออกบอนด์ตกลงที่จะจ่ายเงินคืนให้ผู้ถือตราสาร ณ วันที่ครบกำหนด อาจเรียกว่า principal value หรือ face value หรือ redemption value หรือ maturity value
ในทางปฏิบัติราคาของบอนด์จะแสดงเป็นจำนวนเปอร์เซ็นของราคาพาร์ เช่น มูลค่า 100 หมายถึง 100% ของราคาพาร์ ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 1000 บาทและผู้ออกบอนด์ขายที่ราคา 900 บาท เราอาจกล่าวว่าขายที่ 90 ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 5000 บาทและขายที่ 5500 เราอาจกล่าวว่าขายที่ 110
ในการคำนวณราคาของบอนด์เป็นดอลล่าร์ในอเมริกา สิ่งแรกบอนด์จะต้องแปลเป็นราคาต่อ 1 $ ดังนั้นราคาต่อ 1$ จะคูณด้วยราคาพาร์ เป็น ราคาดอลลาร์ ตัวอย่างดังต่อไปนี้
หมายเหตุ บอนด์อาจซื้อขายที่ราคาต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้ เมื่อบอนด์ซื้อขายต่ำกว่าราคาพาร์เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Discount และ เมื่อบอนด์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าราคา เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Premium
เรื่องต่อไปจะกล่าวถึง Coupon rate เนื่องจาก coupon rate ของบอนด์มีหลายประเภทจึงขอยกไว้ครั้งถัดไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)