ห่างหายกันไปนาน ไม่ค่อยมีเวลา Update วันนี้เลยเอาซะหน่อย ว่ากันด้วยเรื่องของ Fixed income securities
หลักทรัพย์ตราสารหนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาระหนี้และหุ้นบุริมสิทธิ ในกรณีของภาระหนี้ผู้ออกตราสารจะเรียกว่า ผู้กู้(Borrower) นักลงทุนที่ซื้อตราสารจะเรียกว่าผู้ให้กู้(Lender or Creditor) โดยผู้กู้จะทำข้อตกลงการจ่ายเงินเป็นสองส่วน คือ 1.ดอกเบี้ย 2.เงินต้น
fixed income securities ที่เป็นแบบภาระหนี้ประกอบด้วย Bond ,mortgae-backed securities , asset-backed securities และ bank loans
ตราสารที่เป็นแบบหุ้นบุริมสิทธิ ผู้ออกตราสารจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งแตกต่างจกนักลงทุนที่เป็นเจ้าของหุ้นสามัญ คนที่เป็นเจ้าของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลคงที่และจ่ายก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้สิทธิในการเรียกร้องก่อน
ในปี 1980 Fixed income ของโลกได้เปลี่ยไป อย่างแรก Fixed income securities มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะในหลายตราสารยากที่จะตรวจสอบ บางตราสารยากในการหาดอกเบี้ยที่จะได้รับ อย่างที่สองคือ นักลงทุนสถาบันเข้ามาค้าตราสารหนี้มากขึ้น
ต่อไปเราจะอธิบายคุณลักษณะของ fixed income securities โดยจะอธิบายว่าคุณลักษณะเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้อย่างไร โดยจะใช้ตราสารหนี้ที่ออกในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
1.เงื่อนไขและสัญญา(Indentur & Convenants)
สัญญาของผู้ออกตราสารและสิทธิของผู้ถือตราสารจะมีการกำหนดรายละเอียดในสัญญษ ผู้ถือตราสารหนี้มีความยากลำบากในการใช้เวลาในการตรวจสอบว่าผู้ออกตราสารจะรักษาคำมั่นสัญญาทั้งหมดที่ทำในสัญญา ปัญหานี้จะแก้ไขโดย ผู้ดูแลทรัพย์สิน (trustee) ในฐานะบุคคลที่สาม ในสัญญาจะระบุผู้ดูแลทรัพย์สินในฐานะตัวแทนของผู้ถือตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่มีสัญญารับรองและเงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติ เงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติและระบุข้อจำกัดบางอย่างและข้อจำกัดกิจกรรมผู้กู้ส่วนใหญ่ คือ ข้อจำกัดในความสามารถของผู้กู้ที่จะไม่สามารถเพิ่มหนี้จนกว่าจะมีการทดสอบบางอย่างที่เป็นที่น่าพอใจ สัญญาที่รับรองกิจกรรมที่ผู้กู้จะทำ ที่พบมากที่สุดคือ 1)การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นในเวลาที่กำหนด 2.)การจ่ายภาษีและสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เมื่อครอบกำหนด 3)การรักษาสินทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของผู้กู้ให้อยู่ในสภาพดี 4)การนำส่งรายงานเป็นระยะให้ผู้ดูแลทรัพย์สินที่ระบุไว้ตามสัญญาการกู้
2.วันครบกำหนด (Maturity)
ระยะเวลาที่ครบกำหนดของตราสารหนี้ คือ จำนวนปีของหนี้สินที่มีอยู่ หรือจำนวนปีที่เหลือที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น เช่น "due 12/1/2020"
สำหรับตราสารหนี้ที่มีอายุ 1-5 ปี คือระยะสั้น
อายุ 5-12 ปี คือระยะกลาง
อายุ 12 ปีขึ้นไป คือระยะยาว
สำหรับเหตุผลที่ระยะเวลาที่ครบกำหนดมีความสำคัญมี 3 ข้อ คือ
1.ระยะเวลาที่ผู้ถือตราสารหนี้คาดว่าจะได้รับดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงกำหนดรับคืนเงินต้น
2.ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าของตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของตราสารหนี้ตลอดอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
มูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ของตราสารหนี้คือจำนวนเงินที่ผู้ออกบอนด์ตกลงที่จะจ่ายเงินคืนให้ผู้ถือตราสาร ณ วันที่ครบกำหนด อาจเรียกว่า principal value หรือ face value หรือ redemption value หรือ maturity value
ในทางปฏิบัติราคาของบอนด์จะแสดงเป็นจำนวนเปอร์เซ็นของราคาพาร์ เช่น มูลค่า 100 หมายถึง 100% ของราคาพาร์ ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 1000 บาทและผู้ออกบอนด์ขายที่ราคา 900 บาท เราอาจกล่าวว่าขายที่ 90 ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 5000 บาทและขายที่ 5500 เราอาจกล่าวว่าขายที่ 110
ในการคำนวณราคาของบอนด์เป็นดอลล่าร์ในอเมริกา สิ่งแรกบอนด์จะต้องแปลเป็นราคาต่อ 1 $ ดังนั้นราคาต่อ 1$ จะคูณด้วยราคาพาร์ เป็น ราคาดอลลาร์ ตัวอย่างดังต่อไปนี้
หมายเหตุ บอนด์อาจซื้อขายที่ราคาต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้ เมื่อบอนด์ซื้อขายต่ำกว่าราคาพาร์เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Discount และ เมื่อบอนด์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าราคา เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Premium
เรื่องต่อไปจะกล่าวถึง Coupon rate เนื่องจาก coupon rate ของบอนด์มีหลายประเภทจึงขอยกไว้ครั้งถัดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น