วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการทางการเงิน ว่ากันด้วยเรื่อง risk & return 3 การวัด Stan-Alone Risk: The Standard Deviation

ความเสี่ยงเป็นแนวคิดที่ยากจะเข้าใจและการจัดการที่ดีคือการพยายามทำให้วัดได้ อย่างไรก็ตามความหมายทั่วไป คือ ความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็นยิ่งมาก ความเสี่ยงของการลงทุนจะยิ่งลดลง
จากรูปด้านบน เราจะเห็นว่า บริษัท U.S.Water มีความเสี่ยงต่ำกว่า บริษัท Martin Product เพราะว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่อัตตาผลตอบแทนจะต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ตัววัดความเสี่ยงที่มีค่าค่าแน่นอนเราต้องวัดความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็น หนึ่งในตัววัดดังกล่าวก็คือส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard deviation,sigma) ยิ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานยิ่งน้อย ความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็นยิ่งมาก  นั่นคือความเสี่ยงจะยิ่งต่ำ

ส่วนเบี่ยงเบน (Deviation) หาได้จากสมการด้านล่าง
ค่าความแปรปรวน (Variance) หาได้จาก สมการด้านล่าง
สุดท้ายเมื่อนำ ค่าความแปรปรวน มาถอด Square root เราจะได้ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ตามสมการข้างล่าง
การตีความส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน สมมติว่าเราได้ expected rate of return = 15%  และสมมติว่าเราคำนวนส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของบริษัท A ได้ 68.26% และของบริษัท B ได้ 3.87% ดังนั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัท A อัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงจะอยู่ในช่วงระหว่าง 15%-68.26% ถึง 15%+68.26% เท่ากับว่าเราจะได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ -50.84%  ถึง 80.84% แต่ถ้าลงทุนในบริษัท B เราจะได้รับผลตอบแทนอยู่ระหว่าง 15%-3.87% ถึง 15%+68.26% นั่นก็คือ 11.13% ถึง 18.87% สังเกตุว่า ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานมีค่ามาก จะทำให้ความเสี่ยงมากขึ้น ผลตอบแทนกำไรหรือขาดทุนก็จะสูง วิธีการนี้สามารถประยุกต์ใช้ในรูป Technical Analysis เพื่อดูความเสี่ยงของสินทรัพย์ตัวที่จะลงทุน โดยการใช้ข้อมูลในอดีตในการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน(Using Historical data to Measure risk) โดยหาได้จากสูตร

r bar t คือ อัตราผลตอบแทนแต่ละปี
r bar avg คือ ค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนแต่ละปีจนถึงปีสุดท้าย
ตัวอย่าง สมมติว่าเรามีข้อมูลอัตราผลตอบแทนของหุ้น A ตั้งแต่ปี 2009 ถึง 2011 ดังตารางข้างล่าง

หาค่า
เพราะฉนั้นจะได้
ถ้าเราเลือกการลงทุนระหว่าง 2 โครงการที่มีผลตอบแทนคาดหวัง(expected rate of return) เท่ากัน แต่ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน(Standard deviation) ต่างกัน เราจะเลือกลงทุนในโครงการที่มีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานต่ำกว่า ในทำนองเดียวกัน ถ้าสองโครงการมี ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานที่เท่ากัน เราจะเลือกลงทุนในโครงการที่ให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่สูงกว่า คนส่วนใหญ่จะรู้สืกว่าความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่ดี และผลตอบแทนคือสิ่งที่ดี นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนที่มากที่สุด และความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด แต่เราจะเลือกโครงการที่ทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่เท่ากันได้อย่างไร สิ่งที่ช่วยในการตอบคำถามนี้คือ ค่าสัมประสิทธ์ความแปรปรวน (Coefficient of variation) ซึ่งก็คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานหารด้วยผลตอลแทนที่คาดหวัง  ดังสมการข้างล่าง
ยิ่งค่า Coefficient of variation ยิ่งมาก ความเสี่ยงของโครงการนั้นก็จะยิ่งสูง เนื่องจากค่า CV มีผลกระทบทั้งความเสี่ยงและผลตอบแทนจึีงเป็นตัววัดการประเมินความเสี่ยงในสถานการณ์ที่เงินลงทุนมีผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น