ผลตอบแทนพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Returns)
ผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตโฟลิโอ (r p -hat) คือค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผลตอบแทนคาดหวังของหลักทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ มีสมการดังด้านล่างนี้ri-hat คือ ผลตอบแทนคาดหวังในหุ้นแต่ละตัว และ wi คือ สัดส่วนหรือน้ำหนักที่ลงทุนในหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ โดย wi รวมกันแล้วต้องเท่ากับ 1.0 ดัวอย่าง สมมติว่าในปี 2012 เราได้ประมาณการอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในหุ้น 4 บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ดังนี้
ถ้าเรามีเงิน 100,000 บาท แล้วลงทุนในหุ้นทั้ง 4 บริษัท บริษัทละเท่าๆ กัน คือบริษัทละ 25,000 บาท เราสามารถ หาผลตอบแทนคาดหวังในพอร์ตโฟลิโอได้ดังนี้
เราจะได้ผลตอบแทนคาดหวังเท่ากับ 10.75% แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี เราจะรู้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงว่าแตกต่างจากผลตอบแทนคาดหวัง ยกตัวอย่างเช่น BBL อาจจะให้ผลตอบแทนที่ 30% ในขณะที่ PTT อาจให้ผลตอบแทน -10% เพราะฉะนั้นผลตอบแทนคาดหวังเป็นเพียงแค่ประมาณการผลตอบแทนที่เราต้องการเท่านั้นไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง
ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Risk)
สิ่งที่เราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้คือ ผลตอบแทนที่คาดหวังของพอร์ตโฟลิโอเป็นเพียงค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผลตอบแทนที่คาดหวังในหลักทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ อย่างไรก็ตามสิ่งที่แตกต่างจากผลตอบแทนก็คือ ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ(sigma p) โดยจะไม่ทำการถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของสินทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ต เราจะอธิบายเรื่องนี้ด้วยรูปด้านล่างนี้
จากข้อมูลข้างบนนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนจากหุ้น W และหุ้น M และสัดส่วนการลงทุนในหุ้น W และ M คือ ลงทุนในหุ้น W 50% ของจำนวนเงินในพอร์ต และลงทุนในหุ้น M 50% ของจำนวนเงินในพอร์ต กราฟ a แสดงอัตราผลตอบแทนในรูปแบบอนุกรมเวลา กราฟ B แสดงการแจกแจงความน่าจะเป็นของผลตอบแทน โดยหุ้นทั้งสองตัวจะมีความเสี่ยงมากถ้าเราถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว แต่เมื่อรวมกันเป็นพอร์ตโฟลิโอแล้ว ความเสี่ยงทั้งหมดจะหมดไป เหตุผลที่หุ้น W&M รวมกันแล้วทำให้ความเสี่ยงลดลงคือหุ้นทั้ง 2 ตัว มีทิศทางของราคาที่สวนทางกัน เมื่อ W ผลตอบแทนลดลง หุ้น M ราคาจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทั้งสองตัวเราเรียกว่า สหสัมพันธ์ (Correlation) และตัวเลขที่ใช้วัดสหสัมพันธ์ เราจะเรียกว่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) หรือตัว roeในทางสถิติเราจะกล่าวว่า ผลตอบแทนหุ้น W และ หุ้น M มีค่าสหสัมพันธ์ เป็น ลบ แบบสมบูรณ์ (perfectly negative correlated) คือมี ค่า
ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นลบแบบสมบูรณ์การกระจายการลงทุนจะทำให้ความเสี่ยงหมดไป
ในทางตรงกันข้าม ถ้า ค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกแบบสมบูรณ์ (perfectly positive correlated) คือมีค่า
ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกแบบสมบูรณ์การกระจายการลงทุนจะไม่ช่วยลดความเสี่ยง
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเรามีหุ้นมากกว่า 2 ตัวในพอร์ตโฟลิโอ คำตอบก็คือ ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอจะลดลงเพิ่มขึ้นถ้าจำนวนหุ้นในพอร์ตโฟลิโอเพิ่มขึ้น แล้วเราสามารถที่จะขจัดความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอให้หมดไปได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ การเพิ่มหุ้นบริษัทอื่นเข้าไปในพอร์ตโฟลิโอจะช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตจะขึ้นอยู่กับค่าสหสัมพันธ์ระหว่างหุ้นแต่ละตัว ถ้าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เป็นบวกเล็กน้อยแต่ไม่เกินหนึ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงในพอร์ต ถ้าเราสามารถหาชุดของหุ้นที่มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เป็น -1 เราจะสามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดไปได้ แต่ในความเป็นจริงความสัมพันธ์ของหุ้นโดยทั่วไปจะมีค่าเป็นบวกแต่น้อยกว่า 1 แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะฉนั้นเวลาเราเลือกหุ้นเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในพอร์ตโฟลิโอของเราจึงควรมีการกระจายซื้อหุ้นที่อยู่แต่หมวดอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน สุดท้ายนี้หลายคนคงเคยได้ยินว่า อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียวเพราะถ้าตระกร้านั้นหล่นไข่ทั้งหมดจะแตก ให้กระจายไข่ใส่ในตระกร้าหลายในเพราะเมื่อใบหนึ่งหล่นก็จะมีอีกหลายใบที่ยังอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น