วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ติว Bond ตอนที่ 1


มาช้าไปหน่อยนะครับพอดีกว่าจะเจอ Bug โปรแกรมที่อัดไฟล์

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Risk Associated with investing in bonds

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้ ประกอบด้วย1.Interest rate risk
2.call and prepayment risk
3.yield curve risk
4.reinvestment risk
5.credit risk
6.liquidity risk
7.exchange-rate risk
8.volatility risk
9.inflation risk
10.even risk;
11.soverign risk

1.Interest rate risk

ราคาของตราสารหนี้แต่ละประเภทจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยหรือ yield นั่นคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาของตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น พิจารณาตราสารหนี้อายุ 20 ปี Coupon rate 6% ถ้า yield ที่นักลงทุนต้องการเพื่อซื้อ bond คือ 6% ราคาของตราสารหนี้จะเท่ากับ 100$ อย่างไรก็ตาม ถ้า yield ที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% ราคาของตราสารหนี้จะลดลงเป็น 94.4479$ ดังนั้น สำหรับ yield ที่เพิ่มขึ้น 50 basis point ราคาตราสารหนี้จะลดลง 5.55% ถ้า yield ลดลงจาก 6% เป็น 5.5% ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น 6.02% เป็น 106.0195$
    เนื่องจากราคาของตราสารหนี้มีความผันผวนกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญคือราคาของตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอจะลดลง ถ้า อัตตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่เรียกว่า ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) และเป็นความเสี่ยงหลักที่นักลงทุนต้องเผชิญในตลาดตราสารหนี้

1.1เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยและราคา
เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่าง การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยและราคา (หรือการเปลี่ยนแปลง yield ในตลาด) เป็นดังนี้ สมมตินักลงทุน A ซื้อบอนด์ที่ Coupon 6% อายุ 20 ปีที่ราคาพาร์เท่ากับ 100$ ดังนั้น yield สำหรับบอนด์คือ 6% สมมติว่าหลังจากที่ซื้อบอนด์นี้มีสองสิ่งเกิดขึ้น หนึ่ง อัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% ดังนั้นถ้าผู้ออกบอนด์ต้องการจะขายบอนด์ที่ราคาพาร์ จะต้องให้ Coupon rate ที่ 6.5% เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนซื้อบอนด์ สองสมมตินักลงทุน A ต้องการขายบอนด์ที่มี Coupon rate เท่ากับ 6% ในการพยายามที่จะขายตราสารหนี้ นักลงทุน A จะไม่พบนักลงทุนที่ต้องการที่จะจ่ายเงินซื้อบอนด์ที่ราคาพาร์กับ Coupon rate 6% เหตุผลคือนักลงทุนที่ต้องการซื้อบอนด์นี้จะไปซื้อบอนด์ที่มีอายุ 20 ปี กับ Coupon rate ที่เพิ่มขึ้นอีก 50 basis point เป็น 6.5% ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า

อะไรคือสิ่งที่นักลงทุนจะต้องทำ นักลงทุนไม่สามารถบังคับให้ผู้ออกเปลี่ยน coupon rate ไปเป็น 6.5% ได้ หรือนักลงทุนไม่สามารถบังคับให้ผู้ออกลดระยะเวลาครบกำหนดของบอนด์เพื่อให้นักลงทุนใหม่เต็มใจยอมรับ coupon rate 6% สิ่งเดียวที่นักลงทึนจะทำได้คือ การปรับราคาของบอนด์เป็นราคาใหม่เพื่อให้ผู้ซื้อตระหนักถึง yield 6.5% นั่นหมายความว่าราคาควรจะมีการปรับลดลงต่ำกว่าราคาพาร์ นั่นคือราคาใหม่จะเป็น 94.4479$ ข้อสมมติฐานนี้เกิดขึ้นที่ราคาเริ่มต้นของมูลค่าพาร์  เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาบอนด์ลดลงทันที
สรุปความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1.บอนด์ซื้อขายที่ราคาพาร์เมื่อ coupon rate = yield ตลาด นั่นคือ
      Coupon rate = Yield require by market -> Price = Par value
2.บอนด์จะซื้อขายต่ำกว่าราคาพาร์ (ขายที่ Discount) หรือ สูงกว่าราคาพาร์ (ขายที่ Premium) ถ้า Coupon rate ไม่เท่ากับ yield ของตลาด
      Coupon rate < Yield require by market -> Price < Par value (Discount)
      Coupon rate > Yield require by market -> Price > Par value (Premium)
3.ราคาของบอนด์เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไว้ดังนี้
      ถ้า อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น -> ราคาบอนด์จะลดลง
      ถ้า อัตราดอกเบี้ยลดลง -> ราคาบอนด์จะเพิ่มขึ้น

 2.คุณสมบัติของบอนด์ที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย

ราคาของบอนด์มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาด ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่างๆของตราสารหนี้ เช่น maturity, coupin rate, และ embedded option (สิทธิต่างๆที่อยู่ในตราสารหนี้)  เราจะดูคุณสมบัติเหล่านี้ในรายละเอียดการวัดความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย

2.1 ผลกระทบของ Maturity
ปัจจัยอื่นๆ คงที่ บอนด์ที่มี Maturity มาก ราคาของบอนด์จะมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาก ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่ามีบอนด์ อายุ 20ปี coupon rate 6% ขายที่ yield 6% ถ้า yield ที่นักลงทุนต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% ราคาบอนด์จะลดลงจาก 100$ เป็น 94.4479$ ราคาลดลง 5.55% ในทำนองเดียวกัน บอนด์อายุ 5 ปีมี coupon rate 6% ขายที่ yield 6% ที่ราคาเท่ากับ 100 ถ้า yield ที่นักลงทุนต้องการเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 6.5% ราคาบอนด์จะลดลงเหลือ 97.8944 ราคาบอนด์ลดลง 2.11%

2.2 ผลกระทบของ Coupon rate
ถ้าให้คุณสมบัติของบอนด์อย่างอื่นคงที่ บอนด์ที่มี coupon rate ต่ำกว่าจะมีความอ่อนไหวของราคาต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมากกว่า

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Features of Debt Securities 2

3.Coupon rate
coupon rate เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nominal rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตกลงจะจ่ายให้ผู้ถือตราสารหนี้ในแต่ละปี จำนวนเงินของดอกเบี้ยที่จ่ายให้ผู้ถือตราสารหนี้ เรียกว่า coupon
coupon หาได้โดยใช้ coupon rate คูณด้วย Par value ของบอนด์ นั่นคือ
Coupon = coupon rate x Par value
ตัวอย่างเช่น
บอนด์ที่มี coupon rate = 8% และมีมูลค่าพาร์เท่ากับ 1000 บาท จะจ่ายดอกเบี้ยต่อปีเท่ากับ 80 บาท (=1000x0.08)
เมื่ออธิบายตราสารหนี้ของผู้ออกตราสาร coupon rate จะแสดงพร้อมกับ maturity date เช่น 6s of 12/1/2020 หมายความว่า บอนด์มี coupon rate เท่ากับ 6% และมีวันครบกำหนด ณ วันที่ 12/1/2020 ตัว s หลัง 6  แสดงถึง coupon series
โดยปกติในอเมริกา ผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายคูปองปีละสองครั้ง ส่วน mortgage-backed securities และ asset-backed securities โดยทั่วไปจะจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน สำหรับผู้ออกตราสารหนี้บางตลาดนอกเหนือจากอเมริกาจะต่ายคูปองปีละครั้ง
coupon rate ยังมีผลกระทบต่อราคาตราสารหนี้กับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ถ้าสมมติว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอื่นๆ คงที่ ยิ่ง coupon rate มาก ราคาจะลดลงเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด

3.1 Zero-Coupon bonds
บอนด์ที่ไม่มีการจ่ายคูปองเรียกว่า Zero coupon bonds ผู้ถือ zero coupon bond จะได้กำไรอัตราดอกเบี้ยโดยการซื้อบอนด์ที่ราคาต่ำกว่าราคาพาร์ ดอกเบี้ยจะจ่ายเมื่อวันครบกำหนด ตัวอย่างเช่น ถ้านักลงทุนซื้อ zero coupon bonds ที่ราคา 70 ดอกเบี้ยคือ 30 นั่นคือส่วนต่างระหว่างราคาพาร์(100) และราคาที่จ่าย (70)

3.2 Step-Up Notes
คือ ตราสารที่มี coupon rate เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลา เราเรียกว่า Step-Up Notes เพราะว่า coupon rate เพื่มขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น 5-year step-up notes จะมี coupon rate 5% สำหรับสองปีแรก และ  6% สำหรับปีที่3-5 เราเรียกว่า single step-up notes  ตัวอย่างที่สอง step-up notes ที่มี coupon rate 5% สำหรับสองปีแรก 5.5% สำหรับปีที่สามและปีที่4 6%สำหรับปีที่5 เราเรียกว่า multiple step-up notes
ตัวอย่างของจริงของ multiple step-up notes 5ปี  ที่ออกโดย Student Loan Marketing Association(Sallie Mae) ออกในเดือน May 1994 มีคูปองดังต่อไปนี้
            6.05% จากวันที่ 5/3/94 ถึง 5/2/95
            6.60% จากวันที่ 5/3/95 ถึง 5/2/96
            7.00% จากวันที่ 5/3/96 ถึง 5/2/97
            7.75% จากวันที่ 5/3/97 ถึง 5/3/98
            8.50% จากวันที่ 5/3/98 ถึง 5/2/99

3.3 Deferred Coupon Bonds
คือ บอนด์ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยยืดออกไปตามจำนวนปีที่ระบุ คือไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยในช่วงเวลา deferred period เมื่อสิ้นสุดช่วง deferred period ผู้ออกจะจ่ายดอกเบี้ยจนกระทั่งครบกำหนด โดยผู้ออกจะจ่ายดอกเบี้ยให้สูงกว่าหลังจาก deferred period เพื่อชดเชยการจ่ายดอกเบี้ยล่าช้าให้ผู้ถือบอนด์

3.4 Floating-Rate Securities
coupon rate ของบอนด์จะไม่ถูกกำหนดตายตัวตลอดอายุของบอนด์ Floating-Rate Securities บางครั้งเราเรียกว่า Variable-rate securities โดยที่ Coupon rate จะถูกรีเซ็ทใหม่ตามช่วงเวลา สูตรในการคำนวนหา coupon rate ที่ reset คือ
Coupon rate = Reference rate + Quoted Margin
Quoted Margin คือ จำนวนส่วนเพิ่มที่ผู้ออกตราสารตกลงที่จะจ่ายให้นอกเหนือจาก Reference rate ตัวอย่างเช่น สมมติว่า Reference rate คือ London interbank offered rate 1-Month(LIBOR) สมมติให้ Quoted margin คือ 100 basis points แล้ว Coupon rate คือ
Coupon rate = 1-month LIBOR + 100 Basis point
ดังนั้น ถ้า 1-month LIBOR ตอน coupon reset date คือ 5% แล้ว coupon rate ที่ถูกตั้งค่าใหม่สำหรับงวดนี้คือ 6% (5% + 100 basis point)
Quoted margin ไม่จำเป็นต้องมีค่าเป็นบวก  Quoted margin อาจจะถูกลบออกจาก Reference rate ก็ได้ ตัวอย่างเช่น Reference rate เท่ากับ 5-yield Treasury Security และ coupon rate ถูก reset ทุก 6 เดือน เพราะฉนั้น สูตร Coupon rate จะเป็น
Coupon rate = 5-yield Treasury yield - 90 Basis points
ดังนั้น ถ้า 5-yield Treasury yield เท่ากับ  7% ณวันที่ Reset coupon แล้ว Coupon rate จะเท่ากับ 6.1% (7%-90 basis points)
มันเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจกระบวนการในการจ่ายเงินและกำหนด coupon rate สมมติว่า floater จ่ายดอกเบี้ยปีละสองครั้ง และอนาคตสมมติว่า coupon rate reset ณ วันนี้ แล้ว coupon rate คือ การระบุ coupon formula และอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอีก 6 เดือนข้างหน้านับจากนี้
floater อาจมีการจำกัด coupon rate สูงสุด ที่จะจ่าย ณ วันที่  Reset ใหม่ Coupon rate สูงสุดเราเรียกว่า CAP ตัวอย่างเช่น สมมติว่า coupon formula คือ 3-month Treasury bill rate + 50 Basis point กำหนด Cap เท่ากับ 9% ถ้า 3-month Treasury bill เท่ากับ 9 % ณ coupon reset date แล้ว coupon rate = 9.5% อย่างไรก็ตามมีการกำหนดข้อจำกัด Cap ไว้ที่ 9 % ดังนั้น coupon rate คือ 9%   
coupon rate ขั้นต่ำ เราเรียก  ว่า floor
อัตราอ้างอิงสำหรับ floater คือ อัตราดอกเบี้ย หรือดัชนีที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย เช่น อัตราเงินเฟ้อ(Inflation index)
โดยทั่วไป coupon formula floater จะเพิ่มขึ้น เมื่อ reference rate เพิ่มขึ้น  และลดลงเมื่อ reference rate ลดลง

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Features of Debt Securities

ห่างหายกันไปนาน ไม่ค่อยมีเวลา Update วันนี้เลยเอาซะหน่อย ว่ากันด้วยเรื่องของ Fixed income securities
หลักทรัพย์ตราสารหนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาระหนี้และหุ้นบุริมสิทธิ ในกรณีของภาระหนี้ผู้ออกตราสารจะเรียกว่า ผู้กู้(Borrower) นักลงทุนที่ซื้อตราสารจะเรียกว่าผู้ให้กู้(Lender or Creditor) โดยผู้กู้จะทำข้อตกลงการจ่ายเงินเป็นสองส่วน คือ 1.ดอกเบี้ย 2.เงินต้น
fixed income securities ที่เป็นแบบภาระหนี้ประกอบด้วย Bond ,mortgae-backed securities , asset-backed securities และ bank loans
ตราสารที่เป็นแบบหุ้นบุริมสิทธิ ผู้ออกตราสารจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งแตกต่างจกนักลงทุนที่เป็นเจ้าของหุ้นสามัญ คนที่เป็นเจ้าของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลคงที่และจ่ายก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้สิทธิในการเรียกร้องก่อน
ในปี 1980 Fixed income ของโลกได้เปลี่ยไป อย่างแรก Fixed income securities มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะในหลายตราสารยากที่จะตรวจสอบ บางตราสารยากในการหาดอกเบี้ยที่จะได้รับ อย่างที่สองคือ นักลงทุนสถาบันเข้ามาค้าตราสารหนี้มากขึ้น
ต่อไปเราจะอธิบายคุณลักษณะของ fixed income securities โดยจะอธิบายว่าคุณลักษณะเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้อย่างไร โดยจะใช้ตราสารหนี้ที่ออกในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

1.เงื่อนไขและสัญญา(Indentur & Convenants)
สัญญาของผู้ออกตราสารและสิทธิของผู้ถือตราสารจะมีการกำหนดรายละเอียดในสัญญษ ผู้ถือตราสารหนี้มีความยากลำบากในการใช้เวลาในการตรวจสอบว่าผู้ออกตราสารจะรักษาคำมั่นสัญญาทั้งหมดที่ทำในสัญญา ปัญหานี้จะแก้ไขโดย ผู้ดูแลทรัพย์สิน (trustee) ในฐานะบุคคลที่สาม ในสัญญาจะระบุผู้ดูแลทรัพย์สินในฐานะตัวแทนของผู้ถือตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่มีสัญญารับรองและเงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติ เงื่อนไขที่ห้ามผู้กู้ปฏิบัติและระบุข้อจำกัดบางอย่างและข้อจำกัดกิจกรรมผู้กู้ส่วนใหญ่ คือ ข้อจำกัดในความสามารถของผู้กู้ที่จะไม่สามารถเพิ่มหนี้จนกว่าจะมีการทดสอบบางอย่างที่เป็นที่น่าพอใจ สัญญาที่รับรองกิจกรรมที่ผู้กู้จะทำ ที่พบมากที่สุดคือ 1)การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นในเวลาที่กำหนด 2.)การจ่ายภาษีและสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เมื่อครอบกำหนด 3)การรักษาสินทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของผู้กู้ให้อยู่ในสภาพดี 4)การนำส่งรายงานเป็นระยะให้ผู้ดูแลทรัพย์สินที่ระบุไว้ตามสัญญาการกู้

2.วันครบกำหนด (Maturity)
ระยะเวลาที่ครบกำหนดของตราสารหนี้ คือ จำนวนปีของหนี้สินที่มีอยู่ หรือจำนวนปีที่เหลือที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น เช่น "due 12/1/2020"
สำหรับตราสารหนี้ที่มีอายุ 1-5 ปี คือระยะสั้น
อายุ 5-12 ปี คือระยะกลาง
อายุ 12 ปีขึ้นไป คือระยะยาว
สำหรับเหตุผลที่ระยะเวลาที่ครบกำหนดมีความสำคัญมี 3 ข้อ คือ
1.ระยะเวลาที่ผู้ถือตราสารหนี้คาดว่าจะได้รับดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงกำหนดรับคืนเงินต้น
2.ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้
3.มูลค่าของตราสารหนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของตราสารหนี้ตลอดอายุของตราสารหนี้

3.มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
มูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ของตราสารหนี้คือจำนวนเงินที่ผู้ออกบอนด์ตกลงที่จะจ่ายเงินคืนให้ผู้ถือตราสาร ณ วันที่ครบกำหนด อาจเรียกว่า principal value หรือ face value หรือ redemption value หรือ maturity value
ในทางปฏิบัติราคาของบอนด์จะแสดงเป็นจำนวนเปอร์เซ็นของราคาพาร์ เช่น มูลค่า 100 หมายถึง 100% ของราคาพาร์ ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 1000 บาทและผู้ออกบอนด์ขายที่ราคา 900 บาท เราอาจกล่าวว่าขายที่ 90 ถ้าบอนด์มีราคาพาร์เท่ากับ 5000 บาทและขายที่ 5500 เราอาจกล่าวว่าขายที่ 110
ในการคำนวณราคาของบอนด์เป็นดอลล่าร์ในอเมริกา สิ่งแรกบอนด์จะต้องแปลเป็นราคาต่อ 1 $ ดังนั้นราคาต่อ 1$ จะคูณด้วยราคาพาร์ เป็น ราคาดอลลาร์ ตัวอย่างดังต่อไปนี้


 หมายเหตุ บอนด์อาจซื้อขายที่ราคาต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้ เมื่อบอนด์ซื้อขายต่ำกว่าราคาพาร์เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Discount   และ เมื่อบอนด์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าราคา เราจะกล่าวว่า บอนด์ซื้อขายที่ Premium

เรื่องต่อไปจะกล่าวถึง Coupon rate เนื่องจาก coupon rate ของบอนด์มีหลายประเภทจึงขอยกไว้ครั้งถัดไป











วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์งบการเงิน ตอนที่ 1 Liquidity ratio

ในการวิเคราะห์งบการเงิน เราจะใช้อัตราส่วนทางการเงิน 5 หมวดด้วยกัน คือ
1.อัตราส่วนสภาพคล่อง(Liquidity ratio) ตอบคำถามว่าบริษัทมีความสามารถที่จะชำระหนี้ที่จะถึงได้ไหม
2.อัตราส่วนบริหารสินทรัพย์ (Asset Management ratio) ตอบคำถามว่าบริษัทมีการลงทุนในสินทรัพย์น้อยไปหรือมากไปหรือเปล่า
3.อัตราส่วนบริหารหนี้สิน (Debt Management ratio) บริษัทใช้เงินทุนจากการก่อหนี้ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่
4.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratio) ผลตอบแทนจากการลงทุนดีหรือไม่
5.อัตตราส่วนมูลค่าตลาด (Market Value ratio)

1.อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratio)
    1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) คำนวนได้จาก สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียนโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย เงินสด หลักทรัพย์ตามราคาตลาด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลัง
หนี้สินหมุนเวียนประกอบด้วย เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น หนี้ระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระในปัจจุบัน ภาษีค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
บริษัท ก. มี Current ratio ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี? คำตอบขึ้นอยู่กับว่าผู้ถามเป็นใคร ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผู้ผลิตต้องตัดสินใจที่จะขยายสินเชื่อให้กับบริษัท ก โดยทั่วไปเจ้าหนี้ชอบที่จะเห็นอัตราส่วนสภาพคล่องสูง ถ้าบริษัทมีฐานะการเงินไม่ค่อยดี ก็จะเริ่มชำระเงินเจ้าหนี้ช้าขึ้น กู้ยืมเงินจากธนาคาร และอื่นๆ จะทำให้หนี้สินหมุนเวียนของบริษัทเพิ่มขึ้น ถ้าหนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน Current ratio จะลดลง และอาจจะทำให้เกิดปัญหา เพราะว่า Current ratio เป็นตัวชี้วัดตัวเดียวที่ดีที่สุดของขอบเขตการเรียกร้องของเจ้าหนี้ระยะสั้นคลอบคลุมถึงสินทรัพย์ที่คาดว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว มันเป็นตัวชี้วัดที่ใช้บ่อยที่สุดที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น
บริษัท ก. มี Current ratio ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม สภาพคล่องของบริษัทค่อนข้างอ่อนแอ  แต่เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนจะถูกแปลงสภาพเป็นเงินสดในระยะเวลาอันใกล้
ลองมาพิจารณา Current ratio ในมุมมองของผู้ถือหุ้น Current ratio ที่สูง อาจหมายความว่าบริษัทมีเงินเป็นจำนวนมากที่อยู่ในสินทรัพย์ เช่นเงินสดส่วนเกินหรือหลักทรัพย์ หรือสินค้าคงคลัง 

  1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio) คำนวนได้จาก สินทรัพย์หมุนเวียนลบสินค้าคงคลัง แล้วหารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
สินค้าคงเหลือจะมีสภาพคล่องน้อยที่สุดในสินทรัพย์หมุนเวียน ดังนั้นการวัดความสามารถของบริษัทเพื่อชำระภาระผูกพันระยะสั้นโดยไม่ต้องอาศัยการขายสินค้าคงเหลือคือสิ่งสำคัญ
ค่าเฉลี่ยอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วของอุตสาหกรรมคือ 2.1 และบริษัท ก. เท่ากับ 1.2 ดังนั้นบริษัท ก. มีค่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรม

2. อัตราส่วนความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratio) เป็นวิธีการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินทรัพย์ของบริษัท อัตราส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ จำนวนเงินรวมของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ที่รายงานในงบดุลดูสมเหตุสมผล สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปในมุมมองของปัจจุบันและระดับยอดขายที่คาดการณ์ไว้ ถ้าบริษัทมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มากเกินไป สินทรัพย์ในการดำเนินงานและเงินทุนจะสูงเกินควร ซึ่งจะลดกระแสเงินสดและราคาหุ้นของบริษัท ในอีกทางหนึ่ง ถ้าบริษัทไม่ได้มีสินทรัพย์เพียงพอ ก็จะสูญเสียยอดขาย ซึ่งจะทำกำไรได้น้อยลง กระแสเงินสดอิสระน้อยลง และราคาหุ้นลดลง ดังนั้นการลงทุนในสินทรัพย์ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ
2.1 อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง Inventory Turnover Ration คือการประเมินสินค้าคงเหลือ หาได้โดยการ เอายอดขาย หารด้วย สินค้าคงคลัง เป็นการประมาณการแบบคร่าวๆ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ถ้าชีวิตมันผิดทางก็ตัดขาดทุน (If life it lose one's way also cut lose)

ในโลกของการลงทุนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนแบบ Value Invester หรือ Technical Analysis สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนพึงกระทำก็คือ การตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ การซื้อหุ้นหลายครั้งนั้นถ้าเรารู้สึกว่าหุ้นเริ่มให้ผลตอบแทนที่ติดลบเราก็ควรที่จะตัดขาดทุนในหุ้นตัวนั้นเพื่อจะได้เอาเงินไปเล่นหุ้นตัวใหม่ แม้ว่าการตัดขาดทุนจะทำให้เราสูญเสียเงินบางจำนวน สูญเสียเวลาในการถือครองหุ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรทำก่อนที่พอร์ตจะเสียหายไปมากกว่าเดิม อาจารย์ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เคยพูดให้ผมฟังว่า อย่าให้การตัดขาดทุนกลายเป็นการขาดทุนมหาศาล หมายความว่า เราควรตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่ไฟจะไหม้บ้านทั้งหลัง ในเรื่องของการใช้การตัดขาดทุนในการดำเนินชีวิต เช่นเรื่องความรัก การมีความรักหรือมีแฟนนั้นเป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้เป็นแรงจูงใจในการทำงาน การเรียน การสร้างครอบครัว แต่ฉันใดก็ฉันนั้นทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ หากเราเริ่มรู้สึกว่าคนที่เราคบอยู่นั้นไม่ใช่ เริ่มมีปากเสียงกันรุนแรงหลายครั้ง และเริ่มไม่เข้าใจกัน ทำให้การดำเนินชีวิตแย่ลง เราก็ควรตัดขาดทุน ไม่ว่าจะทุ่มเทมาเท่าไหร่ก่อนหน้านั้นเราก็ควรตัดขาดทุน เพื่อจะได้เริ่มดำเนินชีวิตใหม่ แม้ว่าเราจะรู้สึกสูญเสีย เสียใจ ในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้น แต่หากเราไม่ตัดขาดทุนแต่เริ่ม ความเสียใจก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เราได้ทุ่มเทเข้าไป ในเรื่องของหน้าที่การงานก็เช่นกัน หากเราไม่ได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราก็ควรตัดขาดทุนแล้วเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่เรารักและเป็นตัวเรา เราก็จะทำงานอย่างสนุก ทุ่มเทกับงานมากขึ้น แล้วผลตอบแทนที่ดีก็จะตามมา ไม่มีใครในโลกที่จะทำถูกต้องไปทุกอย่าง แต่ถ้าเรารู้จักตัดขาดทุนให้เป็นแล้วความเสียหายก็ย่อมลดน้อยลง การเริ่มต้นใหม่ก็เร็วขึ้น เวลาคือสิ่งที่ไม่ว่าจะมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่สามารถซื้อคืนกลับมาได้ สุดท้ายนี้เนื่องในวาระตรุษจีน ก็ ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ทองและหุ้นขึ้นกันหลายๆ ^ ^

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการทางการเงิน ว่ากันด้วยเรื่อง risk & return 4 Risk and Return in portforio

ในเรื่อง Risk & Return ตอนที่ 1-3 เราได้กล่าวถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการถือสินทรัพย์เพียงตัวเดียว แต่ในตอนนี้เราจะกล่าวถึงความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการถือสินทรัพย์เพียงตัวเดียว ดังนั้นสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่จะเป็นส่วนหนึ่งของพอร์โฟลิโอ เช่น ในพอร์ตโฟลิโออาจจะประกอบไปด้วย เงินฝากธนาคาร กองทุนLTF ประกันชีวิต หุ้น ทองคำ เป็นต้น แม้ว่านักลงทุนรายย่อยที่มีหุ้นน้อยตัวในพอร์ตโฟลิโอก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของความมั่งคั่ง โดยทั่วไปพอร์โฟลิโอจะไม่ได้มีหุ้นเพียงแค่ตัวเดียว และโดยมุมมองทั่วไปของนักลงทุนถือว่าหุ้นจะขึ้นหรือลงไม่ได้สำคัญมาก สิ่งสำคัญคือผลตอบแทนจากการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอและความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอ นั่นคึือความเสี่ยงและผลตอบแทนในหลักทรัพย์แต่ละตัวจะมีผลกระทบต่อความเสี่ยงและผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอ
ผลตอบแทนพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Returns)
ผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตโฟลิโอ (r p -hat) คือค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผลตอบแทนคาดหวังของหลักทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ มีสมการดังด้านล่างนี้
ri-hat คือ ผลตอบแทนคาดหวังในหุ้นแต่ละตัว และ wi คือ สัดส่วนหรือน้ำหนักที่ลงทุนในหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ โดย wi รวมกันแล้วต้องเท่ากับ 1.0 ดัวอย่าง สมมติว่าในปี 2012 เราได้ประมาณการอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในหุ้น 4 บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ดังนี้
ถ้าเรามีเงิน 100,000 บาท แล้วลงทุนในหุ้นทั้ง 4 บริษัท บริษัทละเท่าๆ กัน คือบริษัทละ 25,000 บาท เราสามารถ หาผลตอบแทนคาดหวังในพอร์ตโฟลิโอได้ดังนี้
เราจะได้ผลตอบแทนคาดหวังเท่ากับ 10.75% แต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี เราจะรู้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงว่าแตกต่างจากผลตอบแทนคาดหวัง ยกตัวอย่างเช่น BBL อาจจะให้ผลตอบแทนที่ 30% ในขณะที่ PTT อาจให้ผลตอบแทน -10% เพราะฉะนั้นผลตอบแทนคาดหวังเป็นเพียงแค่ประมาณการผลตอบแทนที่เราต้องการเท่านั้นไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง
ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Risk) 
สิ่งที่เราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้คือ ผลตอบแทนที่คาดหวังของพอร์ตโฟลิโอเป็นเพียงค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผลตอบแทนที่คาดหวังในหลักทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ตโฟลิโอ อย่างไรก็ตามสิ่งที่แตกต่างจากผลตอบแทนก็คือ ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ(sigma p) โดยจะไม่ทำการถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของสินทรัพย์แต่ละตัวในพอร์ต เราจะอธิบายเรื่องนี้ด้วยรูปด้านล่างนี้ 
จากข้อมูลข้างบนนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนจากหุ้น W และหุ้น M และสัดส่วนการลงทุนในหุ้น W และ M คือ ลงทุนในหุ้น W 50% ของจำนวนเงินในพอร์ต และลงทุนในหุ้น M 50% ของจำนวนเงินในพอร์ต กราฟ a แสดงอัตราผลตอบแทนในรูปแบบอนุกรมเวลา กราฟ B แสดงการแจกแจงความน่าจะเป็นของผลตอบแทน โดยหุ้นทั้งสองตัวจะมีความเสี่ยงมากถ้าเราถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว แต่เมื่อรวมกันเป็นพอร์ตโฟลิโอแล้ว ความเสี่ยงทั้งหมดจะหมดไป เหตุผลที่หุ้น W&M รวมกันแล้วทำให้ความเสี่ยงลดลงคือหุ้นทั้ง 2 ตัว มีทิศทางของราคาที่สวนทางกัน เมื่อ W ผลตอบแทนลดลง หุ้น M ราคาจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทั้งสองตัวเราเรียกว่า สหสัมพันธ์ (Correlation) และตัวเลขที่ใช้วัดสหสัมพันธ์ เราจะเรียกว่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) หรือตัว roe
ในทางสถิติเราจะกล่าวว่า ผลตอบแทนหุ้น W และ  หุ้น M  มีค่าสหสัมพันธ์ เป็น ลบ แบบสมบูรณ์ (perfectly negative correlated) คือมี ค่า
 ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นลบแบบสมบูรณ์การกระจายการลงทุนจะทำให้ความเสี่ยงหมดไป
ในทางตรงกันข้าม ถ้า ค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกแบบสมบูรณ์ (perfectly positive correlated) คือมีค่า 
ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกแบบสมบูรณ์การกระจายการลงทุนจะไม่ช่วยลดความเสี่ยง

อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเรามีหุ้นมากกว่า 2 ตัวในพอร์ตโฟลิโอ คำตอบก็คือ ความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอจะลดลงเพิ่มขึ้นถ้าจำนวนหุ้นในพอร์ตโฟลิโอเพิ่มขึ้น แล้วเราสามารถที่จะขจัดความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอให้หมดไปได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ การเพิ่มหุ้นบริษัทอื่นเข้าไปในพอร์ตโฟลิโอจะช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตจะขึ้นอยู่กับค่าสหสัมพันธ์ระหว่างหุ้นแต่ละตัว ถ้าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เป็นบวกเล็กน้อยแต่ไม่เกินหนึ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงในพอร์ต ถ้าเราสามารถหาชุดของหุ้นที่มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เป็น -1 เราจะสามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดไปได้ แต่ในความเป็นจริงความสัมพันธ์ของหุ้นโดยทั่วไปจะมีค่าเป็นบวกแต่น้อยกว่า 1 แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะฉนั้นเวลาเราเลือกหุ้นเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในพอร์ตโฟลิโอของเราจึงควรมีการกระจายซื้อหุ้นที่อยู่แต่หมวดอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน สุดท้ายนี้หลายคนคงเคยได้ยินว่า อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียวเพราะถ้าตระกร้านั้นหล่นไข่ทั้งหมดจะแตก ให้กระจายไข่ใส่ในตระกร้าหลายในเพราะเมื่อใบหนึ่งหล่นก็จะมีอีกหลายใบที่ยังอยู่

การจัดการทางการเงิน ว่ากันด้วยเรื่อง risk & return 3 การวัด Stan-Alone Risk: The Standard Deviation

ความเสี่ยงเป็นแนวคิดที่ยากจะเข้าใจและการจัดการที่ดีคือการพยายามทำให้วัดได้ อย่างไรก็ตามความหมายทั่วไป คือ ความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็นยิ่งมาก ความเสี่ยงของการลงทุนจะยิ่งลดลง
จากรูปด้านบน เราจะเห็นว่า บริษัท U.S.Water มีความเสี่ยงต่ำกว่า บริษัท Martin Product เพราะว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่อัตตาผลตอบแทนจะต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ตัววัดความเสี่ยงที่มีค่าค่าแน่นอนเราต้องวัดความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็น หนึ่งในตัววัดดังกล่าวก็คือส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard deviation,sigma) ยิ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานยิ่งน้อย ความหนาแน่นของการกระจายความน่าจะเป็นยิ่งมาก  นั่นคือความเสี่ยงจะยิ่งต่ำ

ส่วนเบี่ยงเบน (Deviation) หาได้จากสมการด้านล่าง
ค่าความแปรปรวน (Variance) หาได้จาก สมการด้านล่าง
สุดท้ายเมื่อนำ ค่าความแปรปรวน มาถอด Square root เราจะได้ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ตามสมการข้างล่าง
การตีความส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน สมมติว่าเราได้ expected rate of return = 15%  และสมมติว่าเราคำนวนส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของบริษัท A ได้ 68.26% และของบริษัท B ได้ 3.87% ดังนั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัท A อัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงจะอยู่ในช่วงระหว่าง 15%-68.26% ถึง 15%+68.26% เท่ากับว่าเราจะได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ -50.84%  ถึง 80.84% แต่ถ้าลงทุนในบริษัท B เราจะได้รับผลตอบแทนอยู่ระหว่าง 15%-3.87% ถึง 15%+68.26% นั่นก็คือ 11.13% ถึง 18.87% สังเกตุว่า ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานมีค่ามาก จะทำให้ความเสี่ยงมากขึ้น ผลตอบแทนกำไรหรือขาดทุนก็จะสูง วิธีการนี้สามารถประยุกต์ใช้ในรูป Technical Analysis เพื่อดูความเสี่ยงของสินทรัพย์ตัวที่จะลงทุน โดยการใช้ข้อมูลในอดีตในการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน(Using Historical data to Measure risk) โดยหาได้จากสูตร

r bar t คือ อัตราผลตอบแทนแต่ละปี
r bar avg คือ ค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนแต่ละปีจนถึงปีสุดท้าย
ตัวอย่าง สมมติว่าเรามีข้อมูลอัตราผลตอบแทนของหุ้น A ตั้งแต่ปี 2009 ถึง 2011 ดังตารางข้างล่าง

หาค่า
เพราะฉนั้นจะได้
ถ้าเราเลือกการลงทุนระหว่าง 2 โครงการที่มีผลตอบแทนคาดหวัง(expected rate of return) เท่ากัน แต่ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน(Standard deviation) ต่างกัน เราจะเลือกลงทุนในโครงการที่มีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานต่ำกว่า ในทำนองเดียวกัน ถ้าสองโครงการมี ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานที่เท่ากัน เราจะเลือกลงทุนในโครงการที่ให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังที่สูงกว่า คนส่วนใหญ่จะรู้สืกว่าความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่ดี และผลตอบแทนคือสิ่งที่ดี นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนที่มากที่สุด และความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด แต่เราจะเลือกโครงการที่ทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่เท่ากันได้อย่างไร สิ่งที่ช่วยในการตอบคำถามนี้คือ ค่าสัมประสิทธ์ความแปรปรวน (Coefficient of variation) ซึ่งก็คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานหารด้วยผลตอลแทนที่คาดหวัง  ดังสมการข้างล่าง
ยิ่งค่า Coefficient of variation ยิ่งมาก ความเสี่ยงของโครงการนั้นก็จะยิ่งสูง เนื่องจากค่า CV มีผลกระทบทั้งความเสี่ยงและผลตอบแทนจึีงเป็นตัววัดการประเมินความเสี่ยงในสถานการณ์ที่เงินลงทุนมีผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการทางการเงิน ว่ากันด้วยเรื่อง risk & return 2 (การแจกแจงความน่าจะเป็นและผลตอบแทนที่คาดหวัง)

การแจกแจงความน่าจะเป็น (Probability Distributions)
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์คือการกำหนดโอกาสที่เหตุการณ์ทั้งหมดจะเกิดขึื้น ตัวอย่างเช่น การพยากรณ์สภาพอากาศ มีโอกาส 40% ที่ฝนจะตกในวันนี้ และ 60% ที่ฝนจะไม่ตกในวันนี้ ก็คือเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด หรือผลลัพธ์นั่นเอง ความน่าจะเป็นที่ถูกกำหนดให้แต่ละเหตุการณ์เรียกว่า การแจกแจงความน่าจะเป็น(Probability Distribution) โดยผลรวมของความน่าจะเป็นทั้งหมดรวมกันต้องมีค่าเท่ากับ 1 หรือ 100% ในการลงทุนในหุ้นสามัญ คุณต้องการคาดหวังผลตอบแทน โดยอัตราผลตอบแทนเกิดจาก เงินปันผล+กำไรส่วนต่างราคาหุ้น ความเสี่ยงของหุ้นจะหมายถึงความน่าจะเป็นที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่คาดหวัง ดังเช่นการเกิดอุทกภัยในประเทศไทยครั้งนี้ก็ถือเป็นความเสี่ยงด้วยเพราะบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่คาดหวัง จากการที่ต้องหยุดการผลิต
ตัวอย่าง การแจกแจงความน่าจะเป็น ในบริษัท A และ B
จากตารางด้านบน เราจะเห็นว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะถดถอย 70% ถ้าเราลงทุนในบริษัท A เราจะขาดทุน 50% และถ้าเราลงทุนในบริษัท B เราจะขาดทุน 30% ในอีกทางหนึ่ง มีโอกาศที่เศรษฐกิจโลกจะอยู่กลางๆ 20% ถ้าเศรษฐกิจโลกอยู่กลางๆ เราลงทุนในบริษัท A เราจะได้อัตราผลตอบแทนเท่ากับ 15% และ ถ้าลงทุนในบริษัท B เราจะได้ผลตอบแทน 20%
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected rate of return,r-hat)
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ถ้าเราคูณแต่ละผลลัพธ์ของความน่าจะเป็นกับอัตราผลตอบแทน แล้วนำมาบวกกันเราจะได้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ค่าเฉลี่ยถ่วงน่้ำหนักก็คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังนั่นเอง
โดยมีสมการดังนี้
ดังนั้น อัตราคาดหวังผลตอบแทนจากบริษัท A เท่ากับ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการทางการเงิน ว่ากันด้วยเรื่อง risk & return 1

ในการประเมินโครงการลงทุน สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือเรื่องของความเสี่ยง และ ผลตอบแทน หลายคนคงเคยได้ยินว่า High risk High return ซึ่งก็ทำให้มีนักลงทุนสไตล์ Penny stock เกิดขึ้น โดยความเสี่ยงของสินทรัพย์จะมี 2 แบบก็คือ stan-alone และแบบ Portfolio
โดยความเสี่ยงยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ diversifiable risk คือความเสี่ยงที่สามารถลดได้ และ Market risk ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงจากการลดลงของตลาดและนักลงทุนไม่สามารถที่จะลดความเสี่ยงประเภทนี้ได้
อัตราผลตอบแทน แบ่งวิธีคิดอัตราผลตอบแทนเป็นสองประเภท คือ วิธีการคิดที่เป็นอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (dollar return) และวิธีิคิดอัตราผลตอบแทนที่เป็น % (rate of return,percentage of return)
สมมติตัวอย่างเข่น ซื้อหุ้น 10 หุ้น หุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 1000 บาท หุ้นนี้ไม่มีการจ่ายเงินปันผล ณ สิ้นปี คุณสามารถขายหุ้นนี้ได้ในราคา 1100 บาท อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนเป็นเท่าไหร่
วิธี Dollar return = จำนวนเงินที่ขายหุ้นได้ - จำนวนเงินที่ลงทุน
                           = 1100 - 1000 = 100 บาท
วิธี Rate of return = (จำนวนเงินที่ขายหุ้นได้ - จำนวนเงินที่ลงทุน)/ จำนวนเงินที่ลงทุน
                            = Dollar return / จำนวนเงินที่ลงทุน = 100/1000
                            = 0.1 = 10% นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

เงินทองต้องใส่ใจ ออมก่อนรวยกว่า

ถามตอบเกี่ยวกับ หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้

ถามตอบความรู้วิชาแกนต่างๆ

ถาม-ตอบความรู้วิชาแกนต่างๆ ในหลักสูตร CEO MBA เช่น การจัดการทางการเงิน เศรษฐศาสตร์การจัดการ บัญชีผู้บริหาร การจัดการเชิงกลยุทธ์ การตลาด การจัดการความได้เปรียบในการแข่งขัน พฤติกรรมองค์กร กรุณาใส่ ว่าวิชาอะไร ในหัวข้อ

จุดประสงค์ของ Blog นี้

จุดประสงค์ของ blog นี้มีขึ้นเพื่อ
1.แชร์ความรู้และประสบการณ์จากการที่ได้ศึกษาหลักสูตรปริญาโท บริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยหอการค้า
2.Blog นี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อการค้าและการเรียกเก็บเงินใดๆ
3.ข้อมูลใน Blog นี้อาจมีความผิดพลาด ผู้อ่านควรพิจารณาให้ดี
4.Blog นี้มีขึ้นเพื่อการตั้งคำถาม คำตอบ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาตามหมวดหมู่ กรุณาถามให้ถูกต้องตามหมวดหมู่
5.กรุณาใช้คำสุภาพ
6.ห้ามใช้คำพูดในการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์